- แสบตา
- แสบตาอาจเกิดจากสิ่งแปลกปลอมหรือมลพิษเข้าไปในตา อาจจะมีอาการน้ำตาไหลร่วมด้วย
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• แนะนำล้างตา เพื่อล้างมลพิษออกจากตา
• ไม่ควรขยี้ตา เพราะอาจจะทำให้มีการติดเชื้อแทรกซ้อน และอาการเป็นมากขึ้นได้
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้าล้างตาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังมีการแสบตามาก ควรไปพบแพทย์
• ถ้าการมองเห็นแย่ลง เช่น ตาพร่ามัว ควรไปพบแพทย์
- คันตา
- คันตา อาจเกิดจากการแพ้สารอะไรบางอย่าง และอาจจะมีอาการอย่างอื่นตามมา เช่น ตาอักเสบ ตาแดง
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• แนะนำล้างตา เพื่อล้างมลพิษออกจากตา
• ไม่ควรขยี้ตา เพราะอาจจะทำให้มีการติดเชื้อแทรกซ้อน และอาการเป็นมากขึ้นได้
• หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่สงสัยว่าแพ้
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้าล้างตาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังมีการคันตามาก ควรไปพบแพทย์
• ถ้าการมองเห็นแย่ลง เช่น ตาพร่ามัว ควรไปพบแพทย์
- น้ำตาไหล
- น้ำตาไหล มักจะเกิดหลังจากการที่มีการระคายเคืองที่ดวงตา หรืออยู่ในสภาวะที่มีอากาศแห้ง ลมแรง หรืออาจจะเกิดจากการติดเชื้อบริเวณดวงตาก็ได้
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• แนะนำล้างตา เพื่อล้างมลพิษออกจากตา
• ไม่ควรขยี้ตา เพราะอาจจะทำให้มีการติดเชื้อแทรกซ้อน และอาการเป็นมากขึ้นได้
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้าล้างตาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังมีอาการน้ำตาไหลมาก ควรไปพบแพทย์
• ถ้าการมองเห็นแย่ลง เช่น ตาพร่ามัว ควรไปพบแพทย์
- คัดจมูก
- อาการคัดจมูก หรือรู้สึกหายใจไม่สะดวกคล้ายมีสิ่งอุดตันในจมูก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เนื้อเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เนื้อเยื่อจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ โรคริดสีดวงจมูก เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ หรือสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง
• แนะนำล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
• ยาพ่นจมูก สามารถช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อนานเกิน 5-7 วัน
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้าคัดจมูกติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการคัดจมูก
• ถ้ามีอาการคัดจมูก ร่วมกับมีไข้ หรือร่วมกับอาการบางอย่างที่สงสัยติดเชื้อ เช่น ปวดบริเวณไซนัส ควรไปพบแพทย์
- มีน้ำมูก
- มีน้ำมูก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เนื้อเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เนื้อเยื่อจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ โรคไข้หวัด โรคไซนัสอักเสบ เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ หรือสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง
• หลีกเลี่ยงอากาศเย็น
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีน้ำมูกติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการมีน้ำมูก
• ถ้ามีน้ำมูก ร่วมกับมีไข้ หรือร่วมกับอาการบางอย่างที่สงสัยติดเชื้อ เช่น ปวดบริเวณไซนัส ควรไปพบแพทย์
- แสบจมูก
- อาการแสบจมูก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองเนื้อเยื่อจมูก เนื้อเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เนื้อเยื่อจมูกอักเสบจากการติดเชื้อ เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้าแสบจมูกติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการแสบจมูก
• ถ้ามีอาการแสบจมูก ร่วมกับมีไข้ หรือร่วมกับอาการบางอย่างที่สงสัยติดเชื้อ เช่น ปวดบริเวณไซนัส ควรไปพบแพทย์
- แสบคอ
- อาการแสบคอ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้าแสบคอติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการแสบคอ
• ถ้ามีอาการแสบคอ ร่วมกับมีไข้ หรือร่วมกับอาการบางอย่างที่สงสัยติดเชื้อ เช่น คอแดง ต่อมทอนซิลโต ควรไปพบแพทย์
- ไอแห้งๆ
- อาการไอแห้ง ๆ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ภูมิแพ้ เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• ดื่มน้ำมาก ๆ
• หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง
• หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
• พักผ่อนให้เพียงพอ
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการไอติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไอ
• ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หอบเหนื่อย ไอเป็นเลือด ควรไปพบแพทย์
- คันตามร่างกาย
- อาการคันตามร่างกาย มักจะมีร่วมกับผื่น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ภูมิแพ้ เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• หลีกเลี่ยงการเกา เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนังแทรกซ้อนได้
• หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง หรือก่อให้เกิดการแพ้
• ถ้าไปสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ให้ล้างออก หรืออาบน้ำ
• ในผู้ป่วยที่มีอาการคันจากผิวแห้ง แนะนำให้ใช้โลชันทาผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้น
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หอบเหนื่อย หน้าบวม ปากบวม ควรรีบไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการคันติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการคัน
- มีผื่น
- มีผื่น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ภูมิแพ้ เป็นต้น ถ้าเป็นผื่นจากมลพิษมักจะเป็นบริเวณที่ไม่มีเสื้อผ้าปิด
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• ถ้าเป็นผื่นที่มีอาการคันร่วมด้วย แนะนำหลีกเลี่ยงการเกา เพราะอาจจะทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนังแทรกซ้อนได้
• หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง หรือก่อให้เกิดการแพ้
• ถ้าไปสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ให้ล้างออก หรืออาบน้ำ
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หอบเหนื่อย หน้าบวม ปากบวม ควรรีบไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการผื่นติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของผื่น
- ตาแดง
- ตาแดง อาจจะมีอาการอื่น ๆ เช่น คันตา ระคายเคืองตา ร่วมด้วย ตาแดงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการสัมผัสกับมลพิษ, จากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• แนะนำล้างตา เพื่อล้างมลพิษออกจากตา
• ไม่ควรขยี้ตา เพราะอาจจะทำให้มีการติดเชื้อแทรกซ้อน และอาการเป็นมากขึ้นได้
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้าล้างตาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ตายังแดงมาก ควรไปพบแพทย์
• ถ้าการมองเห็นแย่ลง เช่น ตาพร่ามัว ควรไปพบแพทย์
- มองภาพไม่ชัด
- มองภาพไม่ชัดเจน หรือตามัว สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา การติดเชื้อที่ตา ปัญหาสายตาสั้นหรือสายตายาว โรคหลอดเลือดทางสมอง เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• แนะนำล้างตา ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา เพื่อล้างมลพิษออกจากตา
• ไม่ควรขยี้ตา เพราะอาจจะทำให้มีการติดเชื้อแทรกซ้อน และอาการเป็นมากขึ้นได้
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้าล้างตาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังมีการมองภาพไม่ชัด ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการมองภาพไม่ชัด
- เลือดกำเดาไหล
- เลือดกำเดาไหล คือภาวะที่มีเลือดออกทางจมูก เกิดจากเส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกแตก ทำให้มีเลือดไหลออกข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ อาจไหลจากส่วนหน้า หรือส่วนหลังของจมูก เลือดออกทางส่วนหน้าของจมูกมักพบในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อย เลือดออกจากส่วนหลังของจมูกมักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีสาเหตุจากความดันโลหิตสูง
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• ก้มหน้าลง และให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ บีบปีกจมูกทั้งสองข้างให้แน่นเป็นเวลา 5 – 10 นาที โดยให้หายใจทางปากแทน เพื่อกดบริเวณด้านหน้าของผนังกั้นช่องจมูก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีเลือดออกบ่อยที่สุด อาจใช้น้ำแข็ง หรือผ้าเย็นประคบบริเวณจมูกด้านนอก ถ้ามีเลือดไหลลงคอ ให้บ้วนใส่ภาชนะเพื่อประเมินจำนวนเลือด และป้องกันการอาเจียน จากการกลืนเลือดเข้าไปมาก
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีเลือดไหลไม่หยุด ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุและหยุดเลือด
• ถ้ามีเลือดออกปริมาณมาก มีอาการหน้ามืด เป็นลมร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์
- เสียงแหบ
- เสียงแหบ คือ ภาวะที่เสียงผิดปกติไปจากเดิม ภาวะเสียงเปลี่ยนนี้ มักเกิดจากความผิดปกติที่สายเสียง ซึ่งมีอยู่ 2 เส้น ในกล่องเสียง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการติดเชื้อที่กล่องเสียง การใช้เสียงผิดวิธี การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองแก่กล่องเสียง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• พักการใช้เสียง
• หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง
• หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้าเสียงแหบติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของเสียงแหบ
• ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไอเป็นเลือด กลืนลำบาก ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของเสียงแหบ
- ไอมีเสมหะ
- อาการไอมีเสมหะ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ภูมิแพ้ เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• ดื่มน้ำมาก ๆ
• หลีกเลี่ยงสารต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความระคายเคือง
• หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
• หลีกเลี่ยงการทานยาแก้ไอ ประเภทกดอาการไอ เพราะจะทำให้เสมหะเหนียวติดอยู่ในคอ
• แนะนำทานยาแก้ไอ ประเภทยาขับเสมหะ
• พักผ่อนให้เพียงพอ
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการไอติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไอ
• ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หอบเหนื่อย ไอเป็นเลือด ควรไปพบแพทย์
- เท้าบวม
- เท้าบวม สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เป็นอาการของโรคหัวใจ โรคตับหรือโรคไต จากการติดเชื้อ ลิ่มเลือดอุดตันบริเวณขา เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• ยกขาให้สูงขณะนอนหงาย
• ลดการรับประทานเกลือ และหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม
• สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการบวมผิดปกติเป็นระยะเวลานานหลายวัน ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของเท้าบวม
• ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ควรไปพบแพทย์
- หัวใจเต้นเร็ว
- เมื่อหัวใจมีอัตราการเต้นมากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไปจะถือว่าหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ในผู้ป่วยบางคนจะรู้สึกใจสั่น อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็วสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การติดเชื้อ มีไข้ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ การรับประทานยาบางชนิด การบริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• ให้นั่งพัก หรือนอนพัก
• หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการหัวใจเต้นเร็วมาก นั่งพักแล้วไม่หาย ควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการหัวใจเต้นเร็วร่วมกับอาการแน่นหน้าอก หรือวูบ หน้ามืด ควรรีบไปพบแพทย์
- แน่นหน้าอก
- แน่นหน้าอก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในผู้สูงอายุอาจจะเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะถ้ามีเส้นเลือดหัวใจตีบอยู่เก่าหรือเคยมีอาการเจ็บหน้าอกอยู่แล้ว ในคนอายุน้อย ที่มีอาการแน่นหน้าอก อาจเกิดจากหลอดลมหดเกร็ง จากการเป็นหอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ มักจะมีอาการไอร่วมด้วย เวลาหายใจมักจะมีเสียงหวีด
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• ให้นั่งพัก หรือนอนศีรษะสูง
• ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ถ้ามียาบรรเทาอาการเจ็บแน่นหน้าอก ให้อมยาใต้ลิ้น ถ้ายังไม่หายแน่นหน้าอกให้อมยาใต้ลิ้นได้ทุก 5 นาที จำนวนไม่เกิน 3 ครั้ง
• ในผู้ป่วยโรคหอบหืด ถ้ามียาพ่นขยายหลอดลม ให้สูดยาขยายหลอดลม
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรหนัก ๆ มากดทับ อาจจะเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรรีบไปพบแพทย์
• ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเดิม ทานยาอมใต้ลิ้น 3 ครั้งแล้วยังไม่หายแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์
• ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืด สูดพ่นยาขยายหลอดลมแล้วยังไม่หายแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการแน่นหน้าอกมาก นั่งพักแล้วไม่หาย ควรไปพบแพทย์
- หายใจลำบาก
- อาการหายใจลำบาก หรือหายใจไม่อิ่ม อาจจะรู้สึกต้องออกแรงในการหายใจมากขึ้น รู้สึกหายใจไม่ออก หรือรู้สึกแน่นหน้าอก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติทางระบบหัวใจ ความผิดปกติระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• ให้นั่งพัก หรือนอนศีรษะสูง
• ในผู้ป่วยโรคหอบหืด ถ้ามียาพ่นขยายหลอดลม ให้สูดยาขยายหลอดลม
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการหายใจลำบากขณะนอนราบ อาจจะเกิดจากโรคหัวใจ ควรรีบไปพบแพทย์
• ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืด สูดพ่นยาขยายหลอดลมแล้วยังอาการหายใจลำบากยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการหายใจลำบากมาก นั่งพักหรือนอนศีรษะสูงแล้วไม่หาย ควรไปพบแพทย์
- หายใจมีเสียงหวีด
- หายใจมีเสียงหวีด มักเกิดจากมีการตีบหรือมีการอุดตันของทางเดินหายใจ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ความผิดปกติของสายเสียง เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• ในผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถ้ามียาพ่นขยายหลอดลม ให้สูดยาขยายหลอดลม
• หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง สูดพ่นยาขยายหลอดลมแล้วยังอาการหายใจมีเสียงหวีดยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
• ถ้าหายใจมีเสียงหวีด ร่วมกับอาการบางอย่างที่สงสัยติดเชื้อ เช่น มีไข้ มีเสมหะมาก ควรไปพบแพทย์
- เหนื่อยง่าย
- เหนื่อยง่าย คือ มีอาการหอบ เหนื่อย หายใจเร็ว โดยมากมักเป็นเวลาออกแรง อาจจะมีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติทางระบบหัวใจ ความผิดปกติระบบทางเดินหายใจ โลหิตจาง ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น
• แนะนำออกจากบริเวณที่มีมลพิษ หรือหลบเข้าอาคาร
• ให้นั่งพัก หรือนอนศีรษะสูง
• ในผู้ป่วยโรคหอบหืด ถ้ามียาพ่นขยายหลอดลม ให้สูดยาขยายหลอดลม
เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการเหนื่อยง่าย ร่วมกับอาการหายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม วูบ หมดสติ ควรรีบไปพบแพทย์
• ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืด สูดพ่นยาขยายหลอดลมแล้วยังอาการเหนื่อยยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
• ถ้ามีอาการเหนื่อยมาก นั่งพักหรือนอนศีรษะสูงแล้วไม่หาย ควรไปพบแพทย์